ช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติถี่จนรู้สึกว่าเราคงต้องเตรียมตัวเอาไว้บ้างแล้วล่ะค่ะ วันนี้เลยมีวิธีเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวมาฝากกัน เหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นถี่ซะจนหวั่นไหวไม่ว่าจะเป็นภูเขาไฟระเบิด หรือ แผ่นดินไหว เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดคิดมาก่อน แต่เราก็ไม่ต้องกังวลจนเที่ยวไม่สนุกนะคะ แค่เตรียมพร้อมปลอดภัยไว้ก่อน รู้ทางหนีทีไล่ รู้ว่าต้องทำอย่างไรแค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วค่ะ ..ไปอ่านกันเลยจ้า

 

รู้ไว้ไม่เสียหาย วิธีเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหว

ที่ญี่ปุ่นจะมีการซ้อมหนีภัยอยู่เป็นประจำในทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะไฟไหม้ หรือ แผ่นดินไหว ทั้งในส่วนของราชการ, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย หรือบริษัทเอกชน แม้แต่คนต่างชาติเองตามศูนย์การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น หรือสำนักงานเขตก็จะมีเอกสาร – คู่มือแนะนำการเอาตัวรอดแนะนำไว้ …รอบคอบเป็นที่ 1 เลยล่ะ

นอกจากการเตรียมพร้อมในเรื่องของความรู้และการเอาตัวรอดแล้ว ยังมีสิ่งของที่เราต้องเตรียมพร้อมอยู่ตลอดด้วยเวลาด้วยเหมือนกัน และยังมีสิ่งของบางอย่างที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ในยามจำเป็นเดี๋ยวเราไปดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

“ถุงยังชีพ”

สำหรับคนที่อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นสิ่งที่ควรต้องมีติดบ้านไว้ก็คือถุงยังชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมด้วยตนเองที่สามารถดูรายละเอียดได้จากที่นี่ค่ะ แต่ถ้าใครรักสบายไม่อยากวุ่นวายในการจัดเตรียมขอแนะนำให้ใช้เงินแก้ปัญหาโลดค่ะ เดินตรงไปยังห้าง Itoyokado, Yodobashi ฯลฯ มีกระเป๋าถุงยังชีพพร้อมจำหน่ายค่ะ สะดวกเวอร์เบอร์แรงจริง ๆ ค่ะ

นกหวีด

แบบพวงกุญแจขนาด เล็กๆ จิ๋วๆ เพื่อนสาวชาวญี่ปุ่นแนะนำให้เจ้พกติดตัวเอาไว้ เพราะสามารถใช้ได้ในยามฉุกเฉิน ไม่ต้องรอให้ถึงแผ่นดินไหวหรอก ไม่ว่าจะเป็นการขอความช่วยเหลือต่าง ๆ โดนลวนลาม กระชากกระเป๋า ฯลฯ นกหวีดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยเราส่งเสียงขอความช่วยเหลือได้ …ภาพ แจ็ค กับ โรส ในหนัง ไททานิก ก็ลอยมา หุหุ  มีขายที่ร้าน 100 เยนนะคะ

อ่อ…มีอีกหนึ่งสิ่งค่ะ พวงกุญแจไฟฉายเล็ก ๆ ใครจะซื้อมาพกติดตัวด้วยก็ได้นะคะ เห็นหนุ่ม ๆ ที่นี่เค้าพกกัน (ใช้ได้ประโยชน์จริง ๆ ไม่ต้องรอเกิดเหตุ)

ถุงสำหรับใส่ปัสสาวะฉุกเฉิน

เป็นสิ่งที่สะดวกมาก ๆ ในยามที่จำเป็นใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ถึงไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเราก็ใช้ได้ค่ะ โดยเฉพาะในช่วงการจราจรติดขัด หรือขับรถทางไกลหาห้องน้ำไม่เจอ อุปกรณ์นี้ช่วยได้ดีเลยทีเดียว (ร้าน 100 เยนมีจำหน่ายค่ะ)

หมวกนิรภัย

เป็นสิ่งที่ควรมีติดบ้าน เมื่อเกิดเหตุก็หยิบมาสวมทันที โดยเฉพาะบ้านไหนมีคนสูงอายุหรือ เด็ก ควรต้องมี

 

ผ้าคลุมอลูมิชีท

ใช้สำหรับคลุมกันหนาว ใช้ได้ทั้งยามปกติและในยามที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เมื่ออยู่กลางแจ้ง ผ้าคลุมนี้จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เอาจริง ๆ ก็เคยเห็นคนใช้ เวลาไปตั้งแคมป์ หรือ แม้แต่การวิ่งมาราธอนก็ยังเห็นคนใช้ผ้าแบบนี้เลย อาจจะเป็นเพราะว่าน้ำหนักเบา พกพาง่าย ใช้แล้วทิ้งได้ไม่เป็นภาระ ร้าน 100 เยนก็มีขายค่ะ

 

กล่องนิรภัยในลิฟท์

มีตามตึกสูงๆในญี่ปุ่น เพื่อป้องกันความปลอดภัย ในยามที่เหตุการณ์ ไม่คาดคิดเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีแผ่นดินไหว ลิฟท์ก็มักจะไม่ทำงาน และถ้าหากมีคนที่ติดอยู่ในลิฟท์ จะสามารถเอาตัวรอดได้ เพราะของที่อยู่ภายในกล่องมหัศจรรย์มากจริงๆ ค่ะ เครื่องยังชีพทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม ไฟฉาย ทิชชู่เปียก ถุงใส่ปัสสาวะ ฯลฯ นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่นั่งให้กับผู้สูงอายุ ในยามที่ ขึ้นลิฟท์ได้อีกด้วยเช่นกันค่ะ

ตัวล็อกตู้ โต๊ะ และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ให้เกาะยึดติด

ไม่ร่วงหล่นในขณะที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน 100 เยน หรือ ในห้าง

แผ่นกาวที่ใช้ยึดทีวีกับที่วางทีวีไม่ให้ล้ม

 

Plastic wrap หรือ พลาสติกสำหรับใช้ห่อหุ้มอาหาร

ถ้าอ่านจบตรงนี้เพื่อน ๆ จะคิดแบบเจ้ไหม ว่าเราควรพกพลาสติกแรพใส่กระเป๋าไปเที่ยวด้วย 55555 เพื่อนสาวชาวญี่ปุ่นบอกว่าเราควรมี พลาสติกแรพอาหารติดเอาไว้ที่บ้านเพราะข้อดีมีมากกว่าแค่หุ้มอาหาร เราไปดูข้อดีของนางกันเลย ทึ่งมาก!


– 📌ใช้ห่อหุ้มจาน ก่อนเทอาหารใส่ แล้วไม่ต้องล้างจาน สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งในยามจำเป็น ถ้าเกิดว่าไม่มีน้ำ แต่มีเจ้าพลาสติกตัวนี้ก็คงจะเอาตัวรอดได้ไม่ยากเลยหล่ะค่ะ


– 📌ใช้รักษาพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดภัยพิบัติเราอาจจะได้รับบาดเจ็บ แขนเคล็ด ขายอก หรือแม่แต่ ศรีษะแตก เจ้าพลาสติกตัวนี้จะสามารถใช้แทนผ้าพันแผล ใช้ห่อหุ้มบนสำลีที่ติดลงบนแผลได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญกันน้ำได้ด้วยหล่ะค่ะ


– 📌ใช้เขียนข้อความขอความช่วยเหลือ หากติดอยู่บนตึกสูง หรือ ดาดฟ้า ถ้าหากหากระดาษแผ่นใหญ่ๆ ไม่ได้ ถ้ามีเจ้าพลาสติกนี้ เราก็สามารถนำมาดัดแปลง เขียนข้อความลงบนพลาสติก เพื่อขอความ ช่วยเหลือจากหน่วยกู้ชีพ ซึ่งโดยมากจะใช้เฮลิคอปเตอร์บินวนสำรวจอยู่แล้ว อีกทั้งพลาสติกเมื่อโดน แสงอาทิตย์หรือ แสงไฟก็จะสะท้อนแสง วิบวับ อีกด้วย

– 📌ใช้ติดที่กระจกเมื่อกระจกแตก เพื่อป้องกันไม่ให้แตกไปมากกว่านี้ แล้วก็ป้องกันเศษกระจก แตกร่วงพื้นและทำให้เกิดอันตราย ที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยด้วยค่ะ

– 📌ถ้าเกิดรู้สึกหนาวก็สามารถนำพลาสติกมาห่อหุ้มตัวแล้วสวมเสื้อทับลงไปก็จะทำให้รู้สึกอุ่นขึ้น ในเวลาคับขัน อะไรอยู่ใกล้ตัวเราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากันไปได้เป็นอย่างดี

 

👉แต่สำหรับนักท่องเที่ยว เราชาวเราก็คงจะแบกถุงยังชีพติดตัวไปตลอดไม่ได้หรอกเน๊อะ เอาเป็นว่าควรหาข้อมูลและอ่านทำความเข้าใจให้พอให้รู้ว่า มีอะไรที่สำคัญและจำเป็นต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และควรรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรก็คงจะพอช่วยเราได้แล้วล่ะค่ะ อย่ากังวลจนเที่ยวไม่สนุก แต่ถ้าใครอยากจะมีสิ่งของพกติดตัวเอาไว้ให้อุ่นใจ เช่น พระเครื่อง, นกหวีด, ไฟฉาย ฯลฯ ก็ไม่ว่ากันจ้า ทั้งหมดทั้งมวลล้วนแล้วแต่ดีต่อใจทั้งนั้น หุหุ

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เพื่อน ๆ ควรต้องมีนอกเหนือจาก “พาสปอร์ต เงิน โทรศัพท์ และแบตสำรอง” แล้วก็คือ เบอร์โทรฯ ที่ติดต่อต่าง ๆ ที่จำเป็นใช้ในยามฉุกเฉินต่าง ๆ อย่างน้อยก็ทำให้เราอุ่นใจว่า มีคนพร้อมที่จะช่วยเราได้แน่ ๆ SAVE ด่วนเลยค่ะ

หมายเลขฉุกเฉิน
– ตำรวจ ,ฉุกเฉิน 110
– ของหาย Lost and Found (03) 3814-4151

ข้อมูลทั่วไป
– (03) 3501-0110 (Japanese/English)
– (03) 3503-8484 (English & Several Other Foreign Languages)
– ไฟไหม้/รถพยาบาล 119
– ข้อมูลโรงแรม (03) 5285-8181
– ขอความช่วยเหลือ The Japan Help-Line (0120) 461-997
– การสื่อสาร รถไฟชินกันเซน 107
– ไปรษณีย์กลาง 0570-046-111

ข้อมูลการใช้ชีวิตประจำวัน
– ศูนย์ข้อมูล (045) 671-7209 (Japanese/English)

ข้อมูลเที่ยวบิน & การคมนาคม
– Haneda (03) 5757-8111(Japanese/English)
– Narita (0476) 34-5000 (Japanese/English)
– Kansai (0724) 55-2500 (Japanese/English)
– JR East Info line (03) 3423-0111 (Japanese/English/Chinese/Korean)
– Lost & Found Tokyo Metro (03) 3834-5577
– JR (03) 3231-1880
– Taxi (03) 3648-0300(Japanese)
– TOEI Bus/Subway (03) 3812-2011
– ข้อมูลจราจร Highway (03) 3506-0111
– ข้อมูลรถไฟใต้ดิน (03) 3837-7046

สถานทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น
3-14-6 Kami-Osaki, Shinagawa-ku, Tokyo 141-0021
โทร. 03-3441-1386 แฟกซ์ 03-3441-2597

คู่มือรับมือแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น 👉👉 ดูจาก ที่นี่ ค่ะ 

 

แอพพลิเคชั่น Yurekuru สำหรับเตือนภัยในยามที่เกิดแผ่นดินไหวที่ควรต้องมี (โหลดฟรี)
Iphone ดาวโหลดได้จาก ที่นี่ ค่ะ
Android ดาวโหลดได้จาก ที่นี่ ค่ะ

ลิ้งค์ในการติดตามข่าวสารที่สำคัญเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

Japan Meteorological Agency (earthquakes): www.jma.go.jp/en/quake/quake_singendo_index.html

Railways และ subways
JR West: global.trafficinfo.westjr.co.jp/en/kinki
Osaka Metro: www.osakametro.co.jp/foreign/english/

Power and gas companies
Kansai Electric Power (KEPCO): www.kepco.co.jp/english/

Tourist emergencies
– Osaka Convention and Tourism Bureau: osaka-info.jp/en/page/emergency
NTT East disaster emergency dial: www.ntt-east.co.jp/en/saigai/voice171/

Japanese links
– Cabinet Office: www.kantei.go.jp/jp/headline/earthquake20180618/
– Japan Meteorological Agency (earthquakes): www.jma.go.jp/jp/quake/
– Osaka Metro: www.osakametro.co.jp/general/subway_information.html
JR West: trafficinfo.westjr.co.jp/list.html

 

ติดตามพวกเราได้ที่

Facebook  Youtube  Instagram

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *