ศาสตร์แห่งการชงชา มาจากสิ่งนี้ “Takayama Chasen” สืบทอดกันมากว่า 500 ปี

SUIKAEN ที่ Takayama จังหวัด Nara

วันนี้จะพาเพื่อน ๆ มาเปิดประสบการณ์ทดลองทำแปรงชงชามัทฉะกับช่างฝีมือระดับตำนานของญี่ปุ่น ที่ Suikaen Tanimura Yasaburo เมือง Takayama ในจังหวัดนารา ที่ใช้ทักษะและความชำนาญในการทำแปรงทุกชิ้นด้วยมือ การทำ Chasen นั้นต้องมีการใส่ใจในรายละเอียด และการทำมีขั้นตอนที่พิถีพิถันมาก ๆ กว่าจะมาเป็นแปรงชงชามัทฉะได้ในหนึ่งอัน กับองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดส่งต่อ ๆ กันมากว่า 500 ปี ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 25  แล้วและกำลังจะส่งต่อให้ผู้สืบทอดรุ่นที่ 26 ต่อ ๆ กันไป พร้อมเรียนรู้การชงชา และดื่มชามัทฉะ จากต้นตำรับญี่ปุ่นแท้ ๆ 

อาจารย์ผู้สอนพวกเรา ท่านเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 25
Chasen แต่ละชิ้นมีความเป็นยูนีคเฉพาะตัว เพราะเป็นงานทำด้วยมือ จะไม่เหมือนหรือเท่ากันเป๊ะ ๆ

ชมคลิปรีวิวได้ที่นี่ :

การทำ Chasen หรือไม้ไผ่ที่ใช้ทำชาเขียวที่มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมาแบบรุ่นสู่รุ่น โดยใช้ไม้ไผ่ที่นำมาทำก็มีกรรมวิธีการทำทั้งการต้ม การตากให้แห้งเตรียมเพื่อนำมาทำ Chasen ต้องใช้เวลานานถึง 2 ปีกันเลยทีเดียว Chasen ทุกชิ้นเป็นงานที่ทำด้วยมือเท่านั้นเครื่องจักไม่สามารถทำได้ ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ที่บอกเลยว่าทำยากมากมาย ไม่ใช่แค่มีฝีมืออย่างเดียวเท่านั้น คนทำต้องมีทักษะที่ดี สายตาที่ดี และมีประสบการณ์ในการทำด้วยค่ะ 

Chasen ของเมือง Takayama ที่นารามีชื่อเสียงมาก ๆ ในญี่ปุ่น
กว่าจะได้ไม้ชงชา Chasen หนึ่งอันต้องผ่านกรรมวิธีเยอะแยะมากมาย
8 ขั้นตอนของการทำ Chasen ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกชิ้นทำด้วยมือ

ไม่ไผ่ทั่วโลกมีกว่า 600  สายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปแต่ละชนิด แต่สำหรับไม้ไผ่ที่ใช้ทำ Chasen ของที่นี่มี 4  ชนิดได้แก่ Hachiku (淡竹 ,はちく), Susutake (煤竹, すすたけ), Shichiku (紫竹, しちく), Aodake (青竹, あおだけ) และ Madake (真竹, まだけ) 

ไม้ไผ่ 4 ชนิดที่แตกต่างกัน อายุ อานามก็หลักร้อยขึ้นจ้า

ไม้ไผ่ที่ใช้ทำ Chasen ในวันนี้มีชื่อว่า ฮะจิกุ (Hachiku ,淡竹 ,はちく) มีเนื้อสีขาว ตัวลำต้นไม่ใหญ่นักขนาดพอดีมือจับ แต่จริง ๆ แล้วไม้ไผ่ก็มีหลายสายพันธุ์ที่นำมาใช้เหมือนกันอย่างพันธุ์สีออกน้ำตาลดำมีชื่อว่า ชิจิกุ (Shichiku ,紫竹, しちく) ซึ่งไม้ไผ่ที่นำมาใช้ทำนั้นต้องผ่านการเก็บไว้หลายปีอย่างที่กล่าวไปข้างต้นจึงจะนำมาทำได้ อย่างในภาพที่เห็น ไม้ไผ่มีอายุ 150 – 200 ปี ซึ่งสีที่แตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เก็บในสมัยก่อนจะเก็บในบ้าน แต่ละบ้านมีการหุงหาอาหาร ก็มีปัจจัยเรื่องอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องเลยทำให้ไม้ไผ่ที่เก็บไว้สีแตกต่างกัน ยิ่งเก็บไว้นาน ราคาก็ยิ่งแพงบางชิ้นก็เป็นหลักหมื่นเยนเลยทีเดียวค่ะ 

ไม้ไผ่ที่ถืออยู่นี้อายุหลายร้อยปีเลยค่ะ

เริ่มต้นจากการนำไม้ไผ่ที่ผ่านการเก็บและต้มเอาไว้ 2 ปี มาเหลาให้ได้ความหนาบาง ตามที่ต้องการ

ค่อย ๆ ใช้มีดเหลาเนื้อไม้ไผ่ด้านนอกออก
ตัดไม้ไผ่โดยใช้มีดเพื่อแบ่งให้เป็นซี่ ๆ
ทำการแยกแต่ละซี่ออกจากกันเพื่อเลาะเอาเนื้อไม้ด้านในออก
ใช้มีดช่วยในการแยกเนื้อไม้กับเปลือกไม้

ถ้าเรามองกันดี ๆ จเห็นว่า Chasen แต่ละเส้นที่นั้นจะมีขนาด 0.4mm , 0.6mm ซึ่งเล็กและละเอียดมาก ๆ เหมือนกับเส้นผมมองด้วยตาเปล่าก็ไม่สามารถแยกได้ว่าขนาดเท่าไหร่ คนทำต้องมีทักษะจริง ๆ ซึ่งการทำจะตัดไม้ไผ่ให้มีขนาด 1mm แล้วจะใช้มือฉีกเส้นไม้ไผ่แบ่งออกเป็น 2 เส้นคือเส้นละ 0.4mm และ 0.6mm และกล่าวกันว่าไม้ไผ่ที่ดีนั้นจะมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นจึงทำให้ ไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบที่เหมาะต่อการทำ Chasen สำหรับ Chasen 1 ชิ้นจะใช้งานได้ประมาณ 500 ครั้ง เมื่อมีแขกมาเยือนชาวญี่ปุ่นมักจะใช้ Chasen อันใหม่มาชงชาในการต้อนรับแขก จึงทำให้บางบ้านต้องมี Chasen หลายอันเลยค่ะ 

ตัดเก่งมาก ต้องใช้ความชำนาญขั้นสูง
ตัดเสร็จแล้วค่อยใช้มือฉีกแยกเนื้อไม้ทีละเส้น
จะเห็นว่าเนื้อไม้แต่ละเส้นบางจริง ๆ
ซูมให้เห็นงานละเอียดทีละเส้น
ตัดไม้ส่วนเกิดทิ้ง
ถักเชือกเพื่อแยกไม้แต่ละซี่
ช่วงที่ถักเชือกเป็นอะไรที่ตาลายมาก ๆ
ถักเสร็จแล้วเราต้องมาดัดลอนของซี่ไม้ไผ่ด้วยค่ะ
วิธีเก็บนำต้องเก็บแบบนี้จะได้ทรงสวยเหมือนเดิม อาจารย์ใส่ใจมากรู้ว่าพวกเราเป็นคนไทยเลยถักเชือกธงชาติไทยไว้รอ

Chasen ที่จำหน่ายในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากที่เมือง Takayama ในจังหวัดนาราเสียส่วนใหญ่ และที่  Suikaen  ผลิตได้ปีละ 12,000 ชิ้น มีช่างฝีมือทั้งหมด 40 คน แต่ละคนผลิตได้วันละ 5 ชิ้นต่อวัน เนื่องจากเป็นไอเทมที่ต้องทำมืออย่างเดียวเท่านั้น เครื่องจักรไม่สามารถผลิตได้ เลยทำให้ Chasen มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย และนำไปตากยังที่วาง Chasen เพื่อให้แห้งก่อนเก็บ และหลีกเลี่ยงการขึ้นรา 

ใส่กล่องพร้อมจำหน่ายสวยงาม

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

พิธีชงชาในสมัยก่อนที่นิยมใช้รับแขก ห้องชงชามาตรฐานจะมีขนาด 4 เสื่อครึ่ง แต่บางห้องก็มีขนาดเล็กมาก ๆ แค่ 2 เสื่อก็มี ประตูสำหรับห้องชงชาส่วนใหญ่จะเตี้ยและบางห้องก็จะแคบมาก ๆ มีแค่ 2 เสื่อเพราะเนื่องจากสมัยก่อนเวลาซามูไรมาพบปะคุยกันหรือเจรจางานในห้องชา ก็อยากให้ทุกคนวางอาวุธไว้ข้างนอกก่อน และประตูที่เตี้ยกับห้องที่แคบจึงไม่สามารถนำอาวุธเข้ามาได้ 

ห้องเสื่อสไตล์ญี่ปุ่น

เวลาดื่มชา จะกินคู่กับขนมหวานญี่ปุ่นบ้างก็เป็นน้ำตาลก้อน บ้างก็เป็นขนมไส้ถั่วแดงจะมีรสหวานที่พอดื่มชาแล้วรสชาติจะกลมกล่อมลงตัวพอดี เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมก่อนดื่มชาต้องหมุนถ้วยด้วย สาเหตุที่ต้องหมุนถ้วยชาก็เพราะต้องการให้คนที่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามได้เห็นความงามของลวดลายของถ้วยชา ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจ้านายระดับสูงญี่ปุ่นเวลาชื่นชมนักชงชาท่านไหนก็จะเลี้ยงดู หรือตบรางวัลให้แก่นักชงชาผู้นั้นด้วยถ้วยชาลายสวยงามบ้าง หรือถ้วยชาเลอค่าบ้าง เหมือนกับกษัตริย์ในยุโรปที่ชื่นชมศิลปินนักวาดภาพก็จะตบรางวัลให้ เมื่อนักชงชาผู้นั้นกลับบ้านของตนก็อยากจะโชว์ถ้วยที่ได้ตบรางวัลมาให้แก่ผู้อื่น ให้ชาวบ้านเห็นด้วยก็เลยมีความจำเป็นต้องหมุนแก้วด้านที่สวยออกเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เห็นกัน นั่นเอง 

วากาชิ ขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่นที่นิยมกินคู่กับชาเขียว
ไม้ Chasen ใช้ชงชา คงชาเขียวก่อนดื่ม
คนเสร็จเรียบร้อย

ค่าเข้าร่วมกิจกรรมทำ Chasen : เริ่มต้นที่ 3,500  เยน จะได้ Chasen ที่เราทำเองกลับไปเป็นที่ระลึก ต้องจองล่วงหน้าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ด้านล่าง 

ชิมชาไป ชมบรรยากาศสวนญี่ปุ่นไปเพลิน ๆ
สวนญี่ปุ่นบริเวณที่สอนทำ Chasen

 

🌐  รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: Suikaen

เว็บไซต์ : https://www.yasaburo.com/

การเดินทาง : ลงรถไฟที่สถานี Gakken Kita Ikoma Sta แล้วต่อแท็กซี่ ไปยัง (Midori Hanazono Tanimura Yasaburo shoten .華園 谷村弥三郎商店)

พิกัดจาก Google map: https://goo.gl/maps/NsNyZeGAdvkh1JWV7

ติดตามพวกเราได้ที่

Facebook  Youtube  Instagram  Twitter

 

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.