เรียนรู้จากญี่ปุ่น ต้องมีอะไร ในกระเป๋าฉุกเฉิน!

กระเป๋าฉุกเฉิน” เป็นสิ่งหนึ่งที่ทางรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของญี่ปุ่นได้ให้ข้อมูลและความรู้แก่ประชาชน รวมถึงชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นว่าควรต้องมี เพราะไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วม, พายุไต้ฝุ่น, แผ่นดินไหว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะ และต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง การเตรียมตัวรับมือให้พร้อมอยู่เสมอ และมีความรู้เรื่องการเอาตัวรอด และส่ิงที่ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรต้องรู้ในการดำรงชีวิตในญี่ปุ่น

แม้แต่เด็กเล็ก ๆ ระดับอนุบาลครูที่โรงเรียนก็ได้มีการสอนวิธีการหลบภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ควรต้องทำอย่างไร เรียกว่าปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กเลยทีเดียว แต่ก็ใช่ว่าการอบรมให้ความรู้จะจบแค่ชั้นอนุบาลนะคะ ทางการญี่ปุ่นก็ได้จัดการอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับภัยพิบัติ และเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ เสมอ ไม่ว่จะเป็นมหาวิทยาลัย, หน่วยงานราชการ, บริษัทเอกชน ฯลฯ ต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ดังนั้น สำหรับเราในฐานะชาวต่างชาติไม่ว่าจะอยู่อาศัยหรือมาท่องเที่ยวในญี่ปุ่น เจ้มองว่าเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่จำเป็นและควรต้องรู้เพราะเราไม่รู้หรอกค่ะว่า จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดตอนไหน การไม่ประมาทดีที่สุด และที่สำคัญเราก็สามารถ นำเอามาปรับใช้เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินในประเทศไทยได้ด้วยเช่นกันค่ะ

กระเป๋าฉุกเฉิน จัดเองก็ได้ หรือ ซื้อสำเร็จมาก็ได้

กระเป๋าฉุกเฉิน” ที่ญี่ปุ่นมีทั้งแบบที่ซื้อมาครบเซ็ตเลย หรือเราจัดเตรียมเองก็มี ถ้าเป็นแบบซื้อครบเซ็ตก็สะดวกดีค่ะไม่ต้องวุ่นวาย จ่ายแล้วจบ สนนราคาก็เริ่มต้นที่ประมาณ 15,000 เยน มีขายตามห้างทั่ว ๆ ไปเช่น Itoyokado, Bicamera, Yodobashi, Muji ฯลฯ แต่สำหรับใครที่อยากจัดเตรียมเองก็ทำเองได้ม่ยุ่งยากนะคะ เพราะสิ่งของที่อยู่ในกระเป๋าส่วนใหญ่ก็หาซื้อได้ไม่ยาก เรามาดูกันค่ะว่าภายในกระเป๋าฉุกเฉินควรต้องมีอะไรอยู่ด้านในบ้างที่สำคัญตัวกระเป๋าควรมีแถบสะท้อนแสง และขอแนะนำว่าน้ำหนักไม่ควรเกิน 3 กก. นะคะ เอ้า! ไปดูกันเลยค่ะ

🔰 ปล. อย่าลืมเอกสารส่วนตัวที่สำคัญอย่างพาสปอร์ต บัตรประจำตัวชาวต่างชาติ (ไซริวการ์ด), บัตรประกันสุขภาพ ฯลฯ ติดตัวไปด้วยนะคะ

15 สิ่งควรต้องมีในกระเป๋าฉุกเฉิน

 1.น้ำ และ อาหาร เป็นสิ่งที่ควรต้องมี ในกรณีที่ไม่สามารถออกไปหาซื้อของกินได้ หรือในกรณีที่ไฟดับ สิ่งที่ควรต้องมีประดับบ้าน ประดับกระเป๋าก็คือ น้ำ และอาหารที่พร้อมกินได้ทันที ที่สำคัญต้องมีอายุการเก็บรักษาได้ยาวนาน 5 ปี อะไรประมาณนี้ค่ะ

 2.ยาสามัญและอุปกรณ์ทำแผล โดยเฉพาะยาประจำตัวที่ใช้เป็นประจำ ควรต้องมี

 3.ไฟฉาย และถ่านไฟฉาย เป็นสิ่งที่ควรต้องมีเลยค่ะ เผื่อว่าไฟดับสิ่งนี้สำคัญมาก ๆ ซื้อแบบไม่แพงแนะนำไปร้าน 100 เยนนะคะ

 4.แบตเตอร์รี่สำรอง ในยุคที่เราต้องการติดต่อสื่อสารและหาข้อมูล แบตเตอร์รี่สำรองจึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ๆ ค่ะ บางคนเตรียมไว้ 2 – 3 อันเลยทีเดียวค่ะ แต่จริง ๆ ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินตู้โทรศัพท์สาธารณะเราสามารถยกหูแล้วกดโทรแจ้ง คุณตำรวจได้ฟรีนะคะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ว่า ทำไมที่ญี่ปุ่นถึงยังคงต้องมีตู้โทรศัพท์สาธารณะอยู่

 5.กระดาษทิชชู่, กระดาษเปียก

 6.มาส์กปิดปาก ปิดจมูก

 7.ผ้าชีทใช้สำหรับหุ้มห่อร่างกายในช่วงเวลาอากาศหนาว ใช้แทนผ้าห่ม ผ้าคลุมตัว


 8.หมวกนิรภัย ใช้ใส่ป้องกันสิ่งที่จะตก หล่น ร่วงมาโดนศรีษะเราได้

 9.พลาสติกแรพอาหาร ไอเทมนี้มีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ ใช้สำหรับกรณีที่เราไม่มีน้ำไว้ล้างจาน เราก็ใช้พลาสติกแรพอาหารนี้ รองไปบนจานก่อน กินอาหารเสร็จจบ ก็ทิ้งแค่พลาสติก ไม่ต้องล้างจานเลย และยังเป็นตัวช่วยในการใช้หุ้มแผลที่เกิดจาก ของมีคมบาดกรณีที่ไม่มีชุดทำแผล หรือกรณีที่แขนหัก ก็ยังใช้พันรัดแขนไว้ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังใช้แรพบริเวณกระจก หรือหน้าต่าง เผื่อมีเศษกระจกแตกก็ใช้พลาสติกหุ้มกันเอาไว้

 10.ห้องน้ำแบบพกพา เป็นสิ่งที่ควรต้องมีเผื่อว่าเกิดเหตุจริง ๆ หาห้องน้ำไม่ได้สิ่งนี้จะมีประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียวค่ะ

 11.นกหวีด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกันเพราะจะเป็นตัวที่ช่วยให้เราส่งเสียงร้องเพื่อขอความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี ใครเคยดูไททานิกคงจะจำกันได้นะคะ

 12.ถุงมือ ดูเหมือนจะไม่สำคัญเท่าไหร่ แต่ควรต้องมีเผื่อว่าเราต้องใช้ในการแหวกไม้ หรือจับของมีคม และช่วยบรรเทาความหนาวได้

 13.รองเท้าสิ่งนี้ก็จำเป็นมาก ๆ เพราะเวลาเกิดเหตุ คนส่วนใหญ่จะตกใจบางคนอาจจะลืมใส่รองเท้า หรือใส่มาเพียงแค่ รองเท้าแตะที่ใส่ในบ้านเผื่อป้องกันเหยียบเศษแก้ว เศษไม้ ซึ่งสาว ๆ บางคนเตรียมรองเท้าสนีกเกอร์ ทิ้งเอาไว้ในออฟฟิศ เผื่อเกิดเหตุก็พร้อมสละรองเท้าส้นสูง แล้วใส่สนีกเกอร์ออกนอกตึกทันที

14.เชือก สิ่งนี้ก็มีประโยชน์เช่นกัน ทำไมเจ้นึกถึงตอนเข้าค่ายลูกเสือเลย หุห

 15.เสื้อกันฝน

สิ่งสำคัญของแต่ละบุคคล ไม่เหมือนกันต้องอย่าลืม!

🔰 นอกจากสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็ยังมีสิ่งสำคัญที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอื่น ๆ ที่เพื่อน ๆ สามารถปรับได้ ตามสไตล์ความจำเป็นของแต่ละบุคคลได้เช่นกันค่ะ เช่น แผ่นที่เส้นทางจากบ้านไปยังศูนย์อพยพ หรือจากที่ทำงานกลับบ้าน, แว่นตา, ฟันปลอม, นมผง, แพมเพิร์ส, ผ้าอนามัย, ผ้าอ้อมกระดาษ, ชุดชั้นใน, เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว, แปรงสีฟัน, ถุงนอน, วิทยุ, เตาแก๊สปิกนิกและแก๊สกระป๋อง, ถุงพลาสติก, ถุงซิปล็อก ฯลฯ

 

นัดหมายสถานที่เพื่อพบกัน

🆘 นอกจากการเตรียมกระเป๋าฉุกเฉินแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวไม่ควรต้องลืมเลยก็คือ การนัดหมายสถานที่ ที่จะกลับมาพบกัน หากเกิดเหตุการณ์ในขณะที่ทุกคนไม่อยู่ในบ้าน ควรจะต้องนัดแนะสถานที่นัดพบ เช่น ที่ศูนย์อพยพใกล้บ้าน หรือที่ใดที่หนึ่งเอาไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อกันทางโทรศัพท์ได้ นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันค่ะ

🆘 ที่ญี่ปุ่นหากติดอยู่ในลิฟท์ขณะที่เกิดเหตุการณ์แล้วไฟดับ ลิฟท์ไม่ทำงาน อาคารสูง ๆ ส่วนใหญ่ เช่นอาคารสำนักงาน โรงแรม ฯลฯ ก็จะมีที่เก็บอุปกรณ์ฉุกเฉินเอาไว้สำหรับผู้ที่ติดอยู่ในลิฟท์ด้วยค่ะ

รวมลิสต์ ลิงก์ที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยว

🚗 🚌 สำหรับเพื่อนๆ ที่เดินทางโดย รถบัส และ เช่ารถ หรือ แท็กซี่ สามารถเช็คเส้นทางด่วนสายหลัก ได้จากเวปนี้ https://www.c-ihighway.jp/pcsite/mapen/
.
🚌 Airport Limousine Bus ที่จะเข้าออกทั้งสนามบิน นาริตะ และ ฮาเนดะ https://www.limousinebus.co.jp/

🚃 JR :
🔹JR Hokkaido : https://bit.ly/2OzhsfO
🔹JR East : https://www.jreast.co.jp/e/
🔹JR Central : https://global.jr-central.co.jp/en/
🔹JR West : https://global.trafficinfo.westjr.co.jp/en/readme.html
🔹JR Shikoku : http://www.jr-shikoku.co.jp/global/en/
🔹JR Kyushu : http://www.jrkyushu.co.jp/english/

🚃 Tokyo Metro: https://www.tokyometro.jp/lang_en/index.html
🚈 Keisei Skyliner เข้าสนามบินนาริตะ : https://www.keisei.co.jp/info/index.htm

Airlines
🔹 ANA : https://www.ana.co.jp/en/
🔹 JAL: https://www.jal.co.jp
🔹 Thai Airways : https://www.thaiairways.com/en_JP/index.page

 Airport :

🔹New Chitose Airport : http://www.new-chitose-airport.jp/en/
🔹Sendai International Airport: https://www.sendai-airport.co.jp/en/flight/
🔹Narita International Airport: https://www.narita-airport.jp/en/flight/today
🔹Tokyo International Airport (Haneda): http://www.haneda-airport.jp/inter/en/flight/
🔹Kansai International Airport : https://www.kansai-airport.or.jp/en/
🔹Chubu Centrair Internation Airport : https://www.centrair.jp/en/flight/
🔹Fukuoka Airport : https://www.fukuoka-airport.jp/english/flight_int.html

📣 แอพ “yurekuru” ที่จะบอกเตือนเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดาวน์โหลดฟรีจ้า
🔹Iphone ดาวน์โหลดได้จากที่นี่ค่ะ https://goo.gl/nyLHNZ
🔹Android ดาวน์โหลดได้จากที่นี่ค่ะ https://goo.gl/Dmq2i3

● เว็บเช็กระดับน้ำในแม่น้ำในญี่ปุ่น เพื่อประเมินการเรื่องน้ำท่วม: https://www.jma.go.jp/jp/suigaimesh/m_flood.html

● สถานที่อพยพ และ เส้นทางที่จะไปยังสถานที่อพยพ เพื่อนๆ สามารถหาจุดอพยพได้จากแผนที่ภัยพิบัตของชุมชนและเทศบาล หรือที่นี่ http://tiny.cc/n99dez โดยกดปุ่ม 2 อันนี้ด้านข้างๆ จอค่ะ
🔘 土砂災害の避難場所 สำหรับอพยพเรื่องดินถล่ม
🔘 洪水の避難場所 สำหรับอพยพเรื่องน้ำท่วม

📌 ศูนย์ Hotline การท่องเที่ยวญี่ปุ่น JNTO โทรได้ 24 ชั่วโมง
โทรจากญี่ปุ่น 050-3816-2787 โทรจากต่างประเทศ +81-50-3816-2787
📌Japan Save Travel (JST : ภายใต้การกำกับของการท่องเที่ยวญี่ปุ่น Japan National Tourism Organization : JNTO)
https://twitter.com/japansafetravel
📌 Hotline สอท. ณ กรุงโตเกียว : + 81 (0) 90 4435 7812
📌 Hotline สกญ. ณ นครโอซากา: + 81 (0) 90 1895 0987, + 81 (0) 90 5151 5860
📌 Hotline สกญ. ณ เมืองฟูกูโอกะ : + 81 (0)90-9572-1515 + 81 (0)90-2585-3027

หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์ และเพื่อน ๆ ที่เมืองไทยก็คงจะนำกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นกันนะคะ ขอบคุณที่เพื่อน ๆ สละเวลาอ่านกันมาจนถึงตอนนี้ ร้สึกเกรงใจจังเลยค่ะ .จบแล้วจริง ๆ จ้า

ติดตามพวกเราได้ที่

Facebook Youtube Instagram Twitter

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.